ประโยชน์ของต้นข้าวสาลีอ่อน (วีทกราส)

CR  :  www.hippocratesinst.org/benefits-of-wheatgrass

Wheatgrass Juice … ต้นข้าวสาลีอ่อน ♦

  1. เพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงและช่วยลดความดันเลือด
  2. ทำความสะอาดเลือด, อวัยวะและทางเดินอาหาร
  3. ต้นข้าวสาลีอ่อนยังช่วยกระตุ้นการเผาผลาญอาหารของร่างกายและระบบเอนไซม์ของเลือดนอกจากนี้ยังช่วยในการลดความดันโลหิตโดยการขยายทางเดินเลือดทั่วร่างกาย
  4. กระตุ้นต่อมไทรอยด์การแก้ไขโรคอ้วน, อาหารไม่ย่อย

Continue reading

ประโยชน์ของ Pudin Hara หรือ พูดิน ฮาร่า

Pudin Hara หรือ พูดิน ฮาร่า

เป็นยาตำหรับอายุรเวชจาก Dabur ของประเทศอินเดีย (India) โดยมักจะใช้ในการรักษา เยียวยาโรคเกี่ยวกับอาการปวดท้อง Pudin Hara (พูดิน ฮาร่า) มีทั้งแบบน้ำและแบบเม็ด (โดยทางเรามีทั้งแบบน้ำและแบบเม็ดจำหน่ายในเวลานี้แล้วค่ะ) มีส่วนผสมจากน้ำมันสกัดของ Mentha Piperita และ Mentha Spicata

Mentha Piperita หรือ peppermint (เปปเปอร์ มิ๊นท์) หรือสะระแหน่บ้านเรานั้นเอง มักจะใช้ในการรักษาเกี่ยวกับระบบย่อยมีปัญหา, กรดไหลย้อน, คลื่นไส้, อาเจียน, โรค IBS หรือ ลำไส้แปรปรวน, โรค GI, ท้องเสีย ท้องร่วง และ มีแก๊สมีลมในท้องมาก

Mentha Spicata หรือ Pudina ในภาษาฮินดี หรือ Spear mint ในภาษาอังกฤษ เป็นตัวขับลม ขับแก๊สในท้อง, ต้านการติดเชื้อและอาการปวดเกร็งในช่องท้อง ซึ่งมักจะใช้ในการรักษาเรื่องระบบย่อยอาหาร เช่น อาหารไม่ย่อย, กรดไหลย้อน, IBS และปวดท้อง

ประโยชน์ของ พูดิน ฮาร่า Pudin hara

ตัวพูดินฮาร่า ผลิตมาจากสมุนไพรธรรมชาติและยังเป็นยาสามัญประจำบ้านเกี่ยวกับพวกระบบย่อย โดยประโยชน์ของมันมีรวมๆดังนี้

  1. มีฤทธิ์ขับลม ขับแก๊ส
  2. กระตุ้นระบบย่อยอาหาร
  3. มีฤทธิ์เย็นๆ ทำให้รู้สึกเย็นสบายในท้อง
  4. ช่วยเรื่องแก๊ส, เรอ, อาหารไม่ย่อย, คลื่นไส้, อาเจียน และอาการต่างๆที่เกี่ยวกับระบบย่อย

 

ขนาดและวิธีการใช้

แบบเม็ด Pudin Hara Pearls : กลืน 1-2 เม็ด หลังอาหาร แล้วดื่มน้ำตามประมาน 1 แก้ว ( ห้ามเคี้ยว ) โดยยาจะไปละลายในท้อง ช่วยระบายลมและย่อยอาหารได้อย่างดีเยี่ยม

ข้อห้าม : 1. ห้ามใช้กับเด็กแรกเกิด

  1. ผู้ที่มีอาหารปวดท้องรุนแรง เรื้อรัง ปรึกษาแพทย์ก่อน

CINNAMON : อบเชย

Cr : medthai.com/อบเชย/

ลักษณะของอบเชย

อบเชย (Cinnamon) เป็นเครื่องยาหรือเครื่องเทศที่ได้มาจากการขูดเอาเปลือกชั้นออกให้หมด แล้วลอกเปลือกชั้นในออกจากแก่นลำต้น โดยใช้มีดกรีดตามยาวของกิ่ง แล้วนำไปผึ่งในที่ร่มสลับกับตากแดดประมาณ 5 วัน และในขณะที่ตากให้ใช้มือม้วนเอาขอบทั้งสองข้างเข้าหากัน เมื่อเปลือกแห้งแล้วจึงมัดรวมกัน โดยเปลือกอบเชยที่ดีนั้นจะต้องเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีสนิม มีความตรงและยางอย่างสม่ำเสมอ โดยยาวประมาณ 1 เมตร มีรสสุขุม เผ็ด หวานเล็กน้อย และมีกลิ่นหอมแบบเฉพาะ[5]

อบเชยเทศ

สรรพคุณของอบเชย

  1. เปลือกต้นและเนื้อไม้ มีรสเผ็ด หวานชุ่ม มีกลิ่นหอม เป็นยาร้อนออกฤทธิ์ต่อไต ม้าม และกระเพาะปัสสาวะ ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย ทำให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยกระจายความเย็นในร่างกาย ทำให้เลือดหมุนเวียนดี (เปลือกต้นและเนื้อไม้)[4]

Continue reading

ขิง : GINGER

   ประโยชน์ของขิง มีดีไม่เบา ยิ่งถ้านำมาทำเป็นชาอุ่น ๆ จิบให้ชุ่มคอ ขอบอกให้รู้ว่าช่วยลดน้ำหนักได้ !

ขิงเป็นสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้ทั้งเพื่อสุขภาพหรืออาหารการกินกันอย่างแพร่หลาย ด้วยกลิ่นที่ร้อนแรงเป็นเอกลักษณ์ และสรรพคุณทางยาที่มีมากมาย ไม่ว่าจะช่วยฆ่าเชื้อโรค หรือต้านการอักเสบ  ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แม้แต่ในแพทย์แผนอายุรเวทที่มีประวัติศาสตร์กันมาอย่างยาวนานหลายพันปี ก็ยังมีการนำขิงมาใช้ และอีกสรรพคุณหนึ่งที่หลาย ๆ คนอาจไม่ทราบนั่นก็คือ การดื่มน้ำขิงสามารถช่วยลดน้ำหนักได้ ! แถมถ้าดื่มทุกวันด้วยละก็ ยิ่งได้ประโยชน์มากมายหลายต่อเลย แต่ว่าน้ำขิงจะช่วยลดน้ำหนักได้อย่างไร และสูตรน้ำขิงลดน้ำหนักจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ

มีผลการศึกษาของนักวิจัยชาวญี่ปุ่น L.K. Han ที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Journal of the Pharmaceutical Society of Japan ในปี 2008 พบว่าขิงมีส่วนช่วยเพิ่มการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถเผาผลาญไขมันได้มากขึ้นกว่าปกติ จึงมีส่วนช่วยลดน้ำหนักได้ นอกจากนี้น้ำขิงอุ่น ๆ ยังสามารถช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย ลดอาการท้องผูก รวมทั้งลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นสาเหตุของความเครียด อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร่างกายบริโภคไขมันมากขึ้นจนทำให้น้ำหนักขึ้นนั่นเอง

ไม่เพียงเท่านั้น การดื่มน้ำขิงอุ่น ๆ นอกจากจะได้ประโยชน์จากขิงแล้วก็ยังจะได้ประโยชน์จากน้ำอุ่นด้วย เพราะน้ำอุ่นจะเข้าไปทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น เพิ่มการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย และการจิบน้ำขิงบ่อย ๆ ก็ยังป้องกันการรับประทานอาหารมากเกินพอดีได้อีก เรียกได้ว่ามีประโยชน์หลายทางเลย

Cr: health.kapook.com/view132529.html

Wheat grass

ประโยชน์ของ Wheat grass

ต้นอ่อนข้าวสาลี ที่เกิดจากการนำเมล็ดข้าวสาลีที่ยังจมูกข้าวอยู่ มาเพาะปลูกให้งอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อน พออายุประมาณ  7 วัน หรือสูงขึ้นมาประมาณ 1 คืบ

แล้วตัดต้นอ่อน โดยให้ห่างจากดินขึ้นมาประมาณ 1 cm. ป้องกันการปนเปื้อน มาล้างทำความสะอาด แล้วใช้เครื่องคั้นแบบมือหมุน หรือเครื่องคั้นผลไม้ที่มีความเร็วรอบต่ำๆ ก็จะได้ น้ำต้นอ่อนข้าวสาลี หรือ น้ำวีทกราส มาแทนกันแล้ว

ในน้ำสีเขียวเข้มของวีทกราสนี้ ประกอบด้วยสารอาหาร ที่ีมีประโยชน์หลายชนิด เช่น

  •  คลอโรฟิวล์ : ช่วยล้างพิษในเลือด ,ตับ , และในอวัยะต่างๆ  ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น มีแรง บรรเทาจากอาการอ่อนเพลียเพราะมีออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่ายกายมากขึ้น
  • เอ็นไซด์ SOD : ต้านมะเร็ง เพราะเป็นตัวจับอนุมูลอิสระในร่ายการ (อนุมูลอิสระ เป็นสารประจุเดี๋ยว ที่ต้องหาอะไรมาจับเพื่อให้เสถียน ถ้าขาด SOD , อนุมูลอิสระนี้จะไปเกาะกับเชลล์แทน จนทำให้เซลล์บริเวณนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลง และกลายเป็นมะเร็งในที่สุด ที่เกิดขึ้น ,อนุมูลอิสระจะเกิด จากการเผาผลาญอาหารในร่ายกาย การได้รับมลพิษต่างๆ)
  • P4D1 : ป็นโปรตีน ที่ทำงานร่วมกับ เอ็นไซด์ SOD.
  • นอกจากนี้ยังประกอบด้วย เอ็นไซม์ที่มีชิวิต , วิตามิน , เกลือแร่ กรดอะมิโน อีกหลายชนิดด้วยกัน ซึ่งแต่ละตัวก็ได้ทำงานประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในน้ำวีทกราส

ชะเอม : ชะเอมเทศ : MULETHI : Liquorice

ชะเอมเทศกับความดันโลหิตสูง

 

 

ชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra L.) หรือ Licorice เป็นสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย สรรพคุณพื้นบ้านใช้รากเป็นยาขับเสมหะทำให้ชุ่มคอ แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว แก้คอแห้ง ขับลม แก้คัน บำรุงร่างกาย ขับเลือดเน่า และเจริญซึ่งหทัยวาตให้สดชื่น เนื่องจากรากของชะเอมเทศพบสารสำคัญคือสาร glycyrrhizin (หรือ glycyrrhizic acid หรือ glycyrrhizinic acid) และ 24-hydroxyglyrrhizin ซึ่งสารเหล่านี้ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 50 – 100 เท่า รากชะเอมจึงถูกนำไปแต่งรสอาหาร ปรุงยาสมุนไพร หรือใช้เป็นแต่งรสหวานในขนมและลูกอม

มีรายงานว่าการรับประทานผลิตภัณฑ์จากชะเอมเทศติดต่อกันนานๆ มีผลต่อความดันโลหิต โดยพบรายงานในหญิงอายุ 31 ปีที่รับประทานฝรั่งจิ้มผงชะเอมเทศ (asam boi) ครั้งละน้อยๆ จนถึง 3 ช้อนโต๊ะ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกันนาน 6 สัปดาห์ ชายสูงอายุวัย 70 ปี ที่รับประทานลูกอมชะเอมเทศวันละ 60 – 100 ก. (เม็ดละ 2.5 ก. พบ glycyrrhizic acid 0.3% ต่อเม็ด) ทุกวันเป็นเวลา 4 – 5 ปี หญิงสูงอายุที่รับประทานยาระบายที่มีส่วนผสมของชะเอมเทศ วันละ 2 ครั้ง (ได้รับ glycyrrhizic acid 94 มก./วัน) และหญิง 2 รายที่รับประทานหมากฝรั่งที่มีส่วนผสมของชะเอมเทศติดต่อกันทุกวัน (รับประทาน glycyrrhizic acid เฉลี่ยวันละ 50 มก.) ทุกรายถูกนำส่งโรงพยาบาลเนื่องจากมีค่าความดันโลหิตสูง (190 – 200/120 มม.ปรอท) ร่วมกับมีอาการปวดหัว อ่อนแรงตามข้อต่อ และเมื่อตรวจวัดค่าชีวเคมีในเลือดพบว่า ทุกรายมีปริมาณโพแทสเซียมต่ำ (hypokalemia) เกิดภาวะ hypermineralocotiodism (ทำให้ระดับ aldosterone เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ร่างกายกักเก็บโซเดียมไว้มากขึ้น จนร่างกายมีน้ำเกิน เกิดอาการบวมและเพิ่มความดันโลหิต) และมีรายงานในอาสาสมัคร 37 คน ที่รับประทานยาสมุนไพรในประเทศญี่ปุ่น Shakuyaku-kanzo-To (SKT) หรือ Shosaiko-To (SST) ซึ่งส่วนผสมของชะเอมเทศขนาด 6 ก. และ 1.5 ก. ตามลำดับ พบว่ากลุ่มที่รับประทาน SKT เกิดภาวะ pseudoaldosteronism (ภาวะที่มีปริมาณฮอร์โมน aldoterone สูงกว่าปกติ) เฉลี่ยในวันที่ 35 หลังจากรับประทาน ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับ SST ผลจะแสดงออกในวันที่ 450 และเมื่อเทียบกับการรับประทานผลิตภัณฑ์อื่นจากชะเอมเทศที่มี glycyrrhizin พบว่าจะมีผลในวันที่ 210 โดยพบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ glycyrrhizin ว่ามีผลต่อการเกิด pseudoaldosteronism อย่างมีนัยสำคัญ และพบว่ากว่า 80% ของผู้ที่รับประทานSKT ติดต่อกันนาน 30 วัน มีผลโพแทสเซียมในเลือดต่ำเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปี จึงอาจกล่าวได้ว่าผู้สูงอายุที่รับประทาน SKT เกิน 30 วัน เสี่ยงต่อการเกิดโพแทสเซียมในเลือดต่ำได้

การทดลองในอาสาสมัครสุขภาพดี 24 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่มให้ได้รับสารสกัดน้ำจากรากชะเอมเทศในปริมาณ glycyrrhizin ขนาด 108, 217, 308 และ 814 มก. ตามลำดับ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าไม่พบอาการข้างเคียงใดๆ ในอาสาสมัครกลุ่มที่ 1 และ 2 แต่พบว่าอาสาสมัครที่ได้รับ glycyrrhizin ขนาด 814 มก. (กลุ่มที่ 4) ปริมาณโพแทสเซียมในเลือดลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สัปดาห์แรกของการทดลอง และมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณ renin และ aldosterone ในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่ 3 และ 4

จากรายงานและผลการทดลองข้างต้นแสดงให้เห็นว่าควรระมัดระวังการรับประทานชะเอมเทศในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง หรือมีภาวะโพแทสเซียมต่ำ และมีคำเตือนว่าไม่ควรใช้ชะเอมเทศในขนาดที่มากกว่า 50 ก./วัน เกินกว่า 6 สัปดาห์ จะทำให้เกิดการสะสมน้ำในร่างกาย เกิดการบวมที่มือและเท้า สารโซเดียมถูกขับได้น้อยลง ขณะที่สารโพแทสเซียมถูกขับมากขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และไม่ควรใช้ชะเอมเทศร่วมกับยาขับปัสสาวะ (กลุ่ม thiazide) หรือยากลุ่ม cardiac glycosides เพราะชะเอมเทศจะมีผลทำให้สารโพแทสเซียมถูกขับออกมาขึ้น และหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับยาขับปัสสาวะ spironolactone หรือ amiloride เพราะจะทำให้ประสิทธิผลการรักษาโรคความดันโลหิตลดลง

 

medplant.mahidol.ac.th/document/glycyrrhiza.asp

ประโยชน์ของ กระวานเทศ

กระวานเทศ สรรพคุณและประโยชน์ของกระวานเทศ 13 ข้อ !

กระวานเทศ

กระวาน หรือ กระวานเทศ ชื่อสามัญ Cardamom, True cardamom, Small cardamom

กระวานเทศ ชื่อวิทยาศาสตร์ Elettaria cardamomum (L.) Maton (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Amomum cardamomum L.) จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)[1],[2],[3]

สมุนไพรกระวานเทศ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กระวานแท้, กระวาน, กระวานขาว, ลูกเอล (Ela), ลูกเอน, ลูกเอ็น เป็นต้น[1] โดยมีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[2]

กระวานเทศ เป็นเครื่องเทศที่มีราคาสูงมาก มีราคาต่อหน่วยของน้ำหนักเป็นอันดับสามรองจากหญ้าฝรั่น (Saffron) และวานิลลา (Vanilla) ซึ่งในตลาดโลกมีการซื้อขายกระวานกันอยู่หลายชนิดจากหลาย ๆ ทวีป โดยชนิดที่มีคุณภาพดีที่สุด (แพงที่สุดด้วย) มีการซื้อขายกันมากที่สุดก็คือ กระวานเทศ (Cardamom) ซึ่งผลิตมาจากประเทศอินเดียและศรีลังกา ส่วนกระวานไทยนั้นจะมีคุณภาพรองลงมา แต่จะมีการนำมาใช้ทดแทนเมื่อกระวานเทศเกิดขาดแคลน หรือนำมาใช้ในอุตสาหกรรมที่ไม่ได้เน้นด้านคุณภาพมากนัก[3]

กระวานเทศ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ กลุ่มพันธุ์ผลเล็ก (E. cardamum var. cardamum) ผลมีขนาดยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ผลแห้งเป็นสีเหลือง นิยมปลูกกันส่วนมาก และกลุ่มพันธุ์ผลใหญ่ (E. cardamum var. major Thwaites) เป็นกระวานเทศป่าจากศรีลังกา ผลมีขนาดยาวประมาณ 2.5-5.5 เซนติเมตร ผลแห้งเป็นสีน้ำตาลเข้ม[3]

ลักษณะของกระวานเทศ

  • ต้นกระวานเทศ จัดเป็นไม้ล้มลุก มีอายุยาวหลายปี มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นเทียมมีความสูงประมาณ 1.5-5 เมตร ส่วนของต้นเกิดมาจากการรวมตัวกันของกาบใบที่เจริญขึ้นมาเหนือดิน จนมีลักษณะเป็นกอ ในแต่ละก้านจะมีใบอยู่ประมาณ 10-20 ใบ ทุกส่วนของลำต้นมีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกกอ ซึ่งเป็นวิธีแบบไม่อาศัยเพศ และวิธีการเพาะกล้าจากเมล็ด มีการเพาะปลูกมากในประเทศอินเดีย ศรีลังกา แทนซาเนีย และกัวเตมาลา[1],[2],[3]
  • ใบกระวานเทศ มีใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็น 2 แถว ด้านหลังใบมีสีเขียวเข้มและเป็นมัน ส่วนท้องใบสีจะจางกว่า ลักษณะของใบเป็นรูปหอกแกมรูปแถบ[2],[3]
  • ดอกกระวานเทศ ช่อดอกออกจากเหง้าหรือบริเวณโคน มีความประมาณ 1-1.5 เมตร ทอดราบไปกับพื้นดิน ดอกมีสีขาวหรือสีเขียวอ่อน ส่วนลาเบลลัมเป็นสีขาวและประด้วยขีดสีม่วง[2]
  • ลูกกระวานเทศ หรือ ผลกระวานเทศ ผลมีลักษณะยาวรีเป็นรูปไข่ หัวท้ายแหลม ปลายผลจะงอนคล้ายกับจะงอยปากนก ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ผลแก่แห้งมีสีน้ำตาลเข้ม เมื่อนำมาตัดขวางภายในจะเห็นเป็น 3 ช่อง รอยตัดจะเป็นแบบสามเหลี่ยม มีกลิ่นเฉพาะตัว ผลเมื่อแก่จะแตกตามยาวออกเป็น 3 ส่วน ภายในผลมีเมล็ดมาก ในแต่ละผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 15-20 เมล็ด[1]
  • เมล็ดกระวานเทศ เมล็ดมีสีน้ำตาลอมดำอัดแก่นเป็นกลุ่มอยู่ภายในผล เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมแบน แข็ง มีขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร มีเยื่อหุ้มเมล็ด โดยเมล็ดนั้นจะมีกลิ่นหอมฉุนและให้รสเผ็ดร้อน
  • ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกระวานเทศ

    • มีการทดลองให้หนูกินสารสกัดเอทานอลที่ได้จากเมล็ดกระวานเทศในขนาด 0.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เป็นระยะเวลา 7 วัน พบว่าเริ่มเกิดอาการพิษ ทำให้หนู (Mouse) มีน้ำหนักตัวที่ลดลง[1]
    • น้ำมันจากเมล็ด มีฤทธิ์ช่วยลดอาการเกร็งของลำไส้หนู โดยทำการทดลองด้วยวิธีการแยกลำไส้ของหนูออกมาทดสอบภายนอก[1]
    • การทดสอบฤทธิ์การยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เมื่อเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูด้วยเอทานอลพบว่า สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ (ขนาด 50-100 มก./กก.) สามารถช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ 50% ส่วนสารสกัดเมทานอล (ขนาด 500 มก./กก.) จะช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ 70% แต่ถ้าเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยยาแอสไพริน จะพบว่าสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ (ขนาด 12.5 มก./กก.) จะช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ถึง 100% และถ้าหากให้ในขนาดที่มากกว่า 12.5 มก./กก. จะพบว่าการออกฤทธิ์นั้นดีกว่ายารักษาโรคกระเพาะอาหารมาตรฐานอย่างรานิทิดีน (Ranitidine) ที่ให้ในขนาด 50 มก./กก.[1]
    • ผลกระวานแห้งจะให้น้ำมันหอมระเหย (Essential oil) ประมาณ 3.5-7% ซึ่งน้ำมันหอมระเหยจะอยู่ภายในเมล็ดเป็นส่วนใหญ่ โดยน้ำมันนี้มีลักษณะเป็นน้ำสีเหลืองอ่อน ซึ่งองค์ประกอบส่วนใหญ่ในน้ำมันจะประกอบไปด้วย 1,8 cineol (20-60%), ?-caryophyllene, ?-pinene, ?-terpineol, ?-terpinyl acetate (20-53%), Geraniol, Geranyl acetate, Linalyl acetate, Limonene, Linalool, Myrcene, Nerol, Nerolidol, Sabinene, Terpinen-4-ol[1]
    • ประโยชน์ของกระวานเทศ

      1. ประโยชน์กระวานเทศ ผลและเมล็ดแห้งใช้เป็นเครื่องเทศหรือใช้แต่งกลิ่นอาหาร เช่น การนำมาแต่งกลิ่นน้ำพริกแกง แต่งกาแฟ กลิ่นเค้ก ขนมปัง เหล้า เครื่องดื่มแบบชาฝรั่ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้ผสมในเครื่องหอมและใช้ในการแต่งกลิ่นสบู่ น้ำหอม ผงซักฟอก และนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการช่วยขับลม[2]
      2. ใช้ในการแต่งกลิ่นยาเตรียมหลายชนิด[1]
      References
      1. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “กระวานเทศ“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com.  [18 พ.ย. 2013].
      2. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรีนไฮเปอร์มาร์ท สารานุกรมผลิตผลและผลิตภัณฑ์จากพืชในซุปเปอร์มาร์เก็ต ฉบับคอมพิวเตอร์.  “กระวานเทศ“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.sc.mahidol.ac.th.  [18 พ.ย. 2013].
      3. เครือข่ายระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.  “กระวานและเร่ว“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: mis.agri.cmu.ac.th.  [18 พ.ย. 2013].

      ภาพประกอบ : www.flickr.com (by dinesh_valke, Aroma Assistant, twacar, jamyealexandra, Mohan_Suresh), เว็บไซต์วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, www.thaicrudedrug.com (by Sudarat Homhual)

      เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (MedThai)

      advertisement M12
      แสดงความคิดเห็น
      • ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันข้อมูล ความคิดเห็นของคุณอาจมีประโยชน์กับผู้อ่านท่านอื่น ๆ
      • เราแก้ไขข้อมูลอยู่เสมอ หากพบคำผิด ข้อมูลคลาดเคลื่อน/ไม่ถูกต้อง ฯลฯ โปรดแจ้งให้เราทราบ
      • เราตรวจสอบทุกความคิดเห็นตลอด 24 ชม. ความเห็นที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาจะไม่ได้รับการเผยแพร่และถูกระงับการแสดงความคิดเห็นอย่างถาวร
    • นำข้อมูมาจาก https://medthai.com/กระวานเทศ

cinnamom : ประโยชน์ของกระวาน

กระวาน สรรพคุณและประโยชน์ของกระวานไทย 37 ข้อ !

กระวาน ชื่อสามัญ Best cardamom, Camphor, Clustered cardamom, Siam cardamom

กระวาน ชื่อวิทยาศาสตร์ Amomum verum Blackw. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Amomum krervanh Pierre ex Gagnep.) จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)[1],[2]

สมุนไพรกระวาน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ปล้าก้อ (ปัตตานี), กระวานขาว (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก), มะอี้ (ภาคเหนือ), ข่าโคก ข่าโค่ม หมากเนิ้ง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กระวานไทย, กระวานดำ, กระวานแดง, กระวานจันทร์, กระวานโพธิสัตว์ เป็นต้น[1],[2]

กระวานจัดเป็นเครื่องเทศที่มีราคาแพง ที่ซื้อขายในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ

  • กระวานไทย หรือ กระวาน (Amomum krevanh) ผลจะมีลักษณะค่อนข้างกลม ปลูกมากในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย หมู่เกาะอินเดียตะวันตก สำหรับประเทศไทยแหล่งผลิตสำคัญจะเก็บได้จากตามป่าบริเวณเขาสอยดาว ในจังหวัดจันทบุรี หรือที่เรียกว่า “กระวานจันทบุรี” ซึ่งเป็นกระวานที่มีคุณภาพดีและเป็นที่ต้องการของตลาด และยังมาจากแหล่งอื่น ๆ ทางภาคใต้อีก เช่น กระวานสงขลา กระวานสุราษฎร์ธานี แต่จะมีคุณภาพต่ำกว่ากระวานจันทบุรี[3]
  • กระวานเทศ หรือ กระวานแท้ (Elettaria cardamomum) ผลมีลักษณะแบนรี ซึ่งแตกต่างจากกระวานไทย กระวานเทศนี้จะปลูกมากในประเทศอินเดีย ศรีลังกา แทนซาเนีย และกัวเตมาลา[3]

ลักษณะของกระวาน

  • ต้นกระวาน จัดเป็นไม้ล้มลุกมีเหง้า มีความสูงประมาณ 2 เมตร โดยมีกาบใบหุ้มซ้อนกันทำให้ดูคล้ายลำต้น โดยต้นกระวานมักขึ้นในที่ร่มหรือใต้ร่มไม้ที่มีความชื้นสูง หรือในที่ที่มีฝนตกชุกและอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลอย่างน้อย 800 ฟุตขึ้นไป โดยมักจะพบขึ้นทั่วไปตามไหล่เขาในบริเวณป่าดงดิบ[1],[3]

ต้นกระวาน

  • ใบกระวาน ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบแคบและยาว เป็นรูปขอบขนาน มีความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม[1]

ใบกระวาน

  • ดอกกระวาน ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกออกมาจากเหง้า ชูขึ้นขึ้นมาเหนือพื้นดิน เรียงสลับซ้อนกันตลอดช่อ ในซอกใบประดับจะมีดอกประมาณ 1-3 ดอก ปลายกลีบเลี้ยงมีหยัก 3 หยัก กลีบดอกมีสีเหลือง เป็นหลอดแคบ เกสรตัวผู้เป็นแบบไม่สมบูรณ์เพศ แปรสภาพเป็นกลีบขนาดใหญ่สีขาว มีแถบสีเหลืองอยู่ตรงกลาง[1]

ดอกกระวาน

  • ผลกระวาน หรือ ลูกกระวาน ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม ติดเป็นพวงราว 10-20 ผล ผลมีสีขาวนวล เปลือกผิวเกลี้ยง มองเห็นเป็นพู มี 3 พู ผลอ่อนมีขน ผิวเปลือกมีริ้วตามยาว เรียงตัวจากฐานไปสู่ยอด ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 6-15 มิลลิเมตร ทั้งหัวและท้ายผลมีจุก ผลจะร่วงไปเมื่อแก่ ผลแก่จะแตก มีเมล็ดอยู่ภายในจำนวนมาก แบ่งเป็น 3 กลุ่ม มีเมล็ดกลุ่มละประมาณ 12-18 เมล็ด

ผลกระวาน

  • เมล็ดกระวาน เมล็ดอ่อนมีสีขาวและมีเยื่อหุ้ม เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลไหม้ โดยทั้งผลและเมล็ดจะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว คล้ายกับกลิ่นของการบูร มีรสเผ็ดและเย็น[1],[2]

ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร ได้แก่ ราก หัว และหน่อ เปลือกต้น แก่น กระพี้ เมล็ด ผลแก่ที่มีอายุประมาณ 4-5 ปี โดยจะเก็บผลในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนมีนาคม [1]

สรรพคุณของกระวาน

  1. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ผลแก่, ใบ, เปลือก, เมล็ด)[1],[2]
  2. ช่วยแก้ธาตุพิการ (เมล็ด)[1],[2] แก้ธาตุไม่ปกติ (ผลแก่)[2]
  3. ช่วยบำรุงกำลัง (ผลแก่, ใบ)[1],[2]
  4. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ผลแก่)[1],[2] แก้อาการเบื่ออาหาร (ผลแก่)[2]
  5. ช่วยบำรุงโลหิตในร่างกาย (กระพี้)[1]
  6. ช่วยขับโลหิต (ผลแก่)[1],[2] ช่วยฟอกโลหิต แก้โลหิตเน่าเสีย (ราก)[1] ช่วยรักษาโรคโลหิตเป็นพิษ (แก่น)[1]
  7. ช่วยแก้เสมหะให้ปิดธาตุ (ราก)[1] แก้ลมเสมหะให้ปิดธาตุ (ผลแก่, ใบ)[1],[2]
  8. ช่วยขับเสมหะ (ใบ, เปลือก, เมล็ด)[1],[2]
  9. แก้อาการสะอึก (ผลแก่)[2]
  10. ช่วยแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน (ผลแก่)[2]
  11. ช่วยแก้ลม (ผล, ใบ, ราก)[1]
  12. กระวาน สรรพคุณช่วยแก้ลมในอกให้ปิดธาตุ (ผลแก่)[1],[2]
  13. ช่วยแก้ลมสันนิบาต สันนิบาตลูกนก (ผลแก่, ใบ)[1],[2]
  14. ช่วยแก้พิษร้าย (แก่น)[1]
  15. ช่วยแก้อาการผอมเหลือง (เปลือก)[1]
  16. ช่วยรักษาโรครำมะนาด (ผลแก่, ใบ, ราก)[1],[2]
  17. ช่วยแก้ไข้ (เปลือก)[1]
  18. ช่วยแก้ไข้เพื่อลม (ใบ)[1]
  19. สรรพคุณกระวาน ช่วยแก้ไข้อันเป็นอชินโรคและอชินธาตุ (เปลือก)[1]
  20. ช่วยแก้ไข้อันง่วงเหงา (ใบ, เปลือก)[1]
  21. แก้ไข้เซื่องซึม (ใบ)[1]
  22. ช่วยแก้อาการปวดท้อง (เมล็ด)[2]
  23. แก้ลมจุกเสียดแน่นเฟ้อ ท้องอืด ท้องเฟ้อ ด้วยการใช้ผลกระวานแก่จัดประมาณ 6-10 ผล นำมาตากแห้งแล้วบดเป็นผง ใช้รับประทานครั้งละ 1-3 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือครึ่งถ้วยแก้ว และนำมาใช้รับประทานเพียงครั้งเดียว (ผลแก่, ใบ)[1],[2]
  24. แก้ลมในลำไส้ (ผลแก่)[2] ช่วยขับผายลมในลำไส้ (เมล็ด, ใบ)[1],[2] มีฤทธิ์ในการขับลม (Carminative) ด้วยการใช้ผลกระวานแก่จัดประมาณ 6-10 ผล นำมาตากแห้งแล้วบดเป็นผง ใช้รับประทานครั้งละ 1-3 ช้อนชา แล้วต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือครึ่งถ้วยแก้ว และนำมาใช้รับประทานเพียงครั้งเดียว (ผลแก่)[1],[2]
  25. ผลกระวานใช้ผสมกับสมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย เช่น มะขามแขก เพื่อใช้บรรเทาอาการไซ้ท้องหรืออาการคลื่นไส้อาเจียน (ผลแก่[1], เมล็ด[2])
  26. ช่วยแก้อุจจาระพิการ (เมล็ด)[1],[2]
  27. ช่วยแก้อัมพาต (ผลแก่)[2]
  28. ช่วยขับพยาธิในเนื้อให้ออกทางผิวหนัง (หัวและหน่อ)[1]
  29. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (กระพี้, เปลือก)[1]
  30. ผลแก่มีรสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอม ประกอบไปด้วยน้ำมันหอมระเหย (Essential oil) 5-9% มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด (ผลแก่)[1]
  31. สมุนไพรกระวาน เป็นส่วนประกอบในพิกัดยาไทย ได้แก่ ตำรับยา “พิกัดตรีธาตุ” ซึ่งประกอบไปด้วย กระวาน ดอกจันทน์ และอบเชย เป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ธาตุพิการ แก้ไข้ แก้ลม แก้เสมหะ และยังจัดอยู่ในตำรับยา “พิกัดตรีทุราวสา” อันประกอบไปด้วย ผลกระวาน ผลราชดัด ผลโหระพาเทศ ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ลม แก้เสมหะ แก้พิษตานซาง และช่วยบำรุงน้ำดี[2]
advertisement M11

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกระวาน

  • มีฤทธิ์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยสารสกัดน้ำ-เอทานอลมีผลกระตุ้นการดูดกลับของกลูโคส และช่วยเสริมฤทธิ์ของอินซูลิน[2]
  • สารในกลุ่มเทอร์ปีนและ Diterpene peroxide ที่แยกบริสุทธิ์จากสารสกัดเฮกเซน มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเชื้อมาลาเรีย Plasmodium falciparum[2]
  • ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก โดยมีสารที่ออกฤทธิ์คือ Cineole[2]
  • น้ำมันหอมระเหยจากผลกระวานมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa[2]
  • น้ำมันหอมระเหย หรือ Essential oil 5-9% ประกอบไปด้วย 1,8-cineol, ?-bisabolol, ?-curcumene, ?-pinene, ?-santalol, ?-terpineol, Bornyl acetate, Camphor 22.5%, Car-3-ene, Cineol, Cinnamaldehyde, Cis-laceol, (E)-nuciferol, Farnesol isomer, Limonene, Linalool, Myrcene, P-cymene, Safrole, Santalol, Terpinen-4-ol, Thujone, (Z)-?-trans- bergamotol[2]

ลูกกระวาน

ประโยชน์ของกระวาน

  1. ประโยชน์กระวาน เหง้าอ่อนของกระวานใช้รับประทานเป็นผักได้ ให้กลิ่นหอมและมีรสเผ็ดเล็กน้อย[1]
  2. ผลแก่ของกระวานนำมาตากแห้ง สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องเทศในการประกอบอาหารได้อย่างปลอดภัย[1],[2]
  3. เมล็ดมีกลิ่นหอม ใช้สำหรับแต่งกลิ่นขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้ และยังช่วยแต่งกลิ่นและดับกลิ่นคาวของอาหารประเภทเนื้อสัตว์ได้อีกด้วย[3]
  4. กระวานไทยสามารถนำมาใช้ทดแทนกระวานเทศได้[3]
  5. มีการนำผลกระวานมาแปรรูปทำเป็นน้ำมันหอมระเหย โดยการกลั่นด้วยไอน้ำ โดยน้ำมันกระวานสามารถนำไปแต่งกลิ่นเหล้า หรือเครื่องดื่มต่าง ๆ รวมไปถึงยังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอมอีกด้วย[3]
  6. กระวานเป็นเครื่องเทศส่งออกของประเทศไทยที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศปีละนับล้านบาท[3]

กระวาน

References
  1. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  “กระวาน“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th.  [17 พ.ย. 2013].
  2. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “กระวานไทย“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com.  [17 พ.ย. 2013].
  3. สำนักงานเกษตร อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี.  “กระวาน“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: soidao.chanthaburi.doae.go.th.  [17 พ.ย. 2013].

ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Ahmad Fuad Morad), เว็บไซต์ thaicrudedrug.com (by Sudarat Homhual)

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (MedThai)

advertisement M12
แสดงความคิดเห็น
  • ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันข้อมูล ความคิดเห็นของคุณอาจมีประโยชน์กับผู้อ่านท่านอื่น ๆ
  • เราแก้ไขข้อมูลอยู่เสมอ หากพบคำผิด ข้อมูลคลาดเคลื่อน/ไม่ถูกต้อง ฯลฯ โปรดแจ้งให้เราทราบ
  • เราตรวจสอบทุกความคิดเห็นตลอด 24 ชม. ความเห็นที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาจะไม่ได้รับการเผยแพร่และถูกระงับการแสดงความคิดเห็นอย่างถาวร

ประโยชน์ของ Flax seeds

ประโยชน์ของ flax seeds

เมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed) หรือเมล็ดจากต้นลินิน (Linseed) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Linum usitatissimum L. เป็นเมล็ดพืชที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมีการค้นพบว่าเจ้าเมล็ดพืชชนิดนี้ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงบาบิโลนเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล และในศตวรรษที่ 8 ก็มีความเชื่อว่าเมล็ดแฟลกซ์นั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงเป็นที่นิยมปลูกเพื่อนำมาบริโภคอย่างแพร่หลายนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

flaxseeds

flaxseeds

เมล็ดแฟลกซ์มีลักษณะคล้ายเมล็ดงาแต่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วคนมักจะนิยมนำเมล็ดแฟลกซ์มาบดก่อนจะนำมารับประทาน เพราะจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารที่อยู่ในเมล็ดได้ดีกว่าการรับประทานเป็นแบบเมล็ด หรือจะรับประทานเป็นแบบน้ำมันสกัด แต่ในน้ำมันสกัดอาจมีคุณค่าทางสารอาหารไม่เท่าแบบบด อย่างสารลิกแนนที่พบในเมล็ดแฟลกซ์แบบบด พอมาอยู่ในรูปน้ำมันสกัดจากเมล็ดแฟลกซ์ กลับพบว่าไม่มีสารลิกแนนอยู่ในน้ำมันสกัดนะคะ

 

flaxseed มีกรดไขมันชนิด omega-3 ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่นเดียวกับที่มีอยู่ใน fish oil, canola oil, walnuts, ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาแอนโชวี่ ปลาเทร้าต์ ปลาสเตอร์เจียน ปู กุ้ง หอยนางรม

คุณสมบัติเด่นของกรดไขมันชนิด omega-3 คือ การยับยั้งการแข็งตัวของเลือด ช่วยขยายหลอดเลือด และ ลด cell damage จากการอักเสบที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ จึงมีประโยชน์อย่างมากต่อร่างกาย โดยเฉพาะต่อระบบเลือด เช่น
– ลดการเกิด heart attack ลงได้ 1 ใน 3
– ลดการอุดตันในหลอดเลือด
– ลดความดันโลหิตสูง
– ลดการเกิดข้ออักเสบ หอบหืด ภูมิแพ้

นอกจากนี้ flaxseed ยังอุดมไปด้วย lignans ซึ่งมีมากกว่าพืชชนิดอื่นถึง 75 เท่า โดย lignans มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากต่อร่างกาย เช่น คุณสมบัติในการต้านมะเร็ง โดยได้มีการทดสอบในสัตว์ทดลองที่เป็นเนื้องอกในเต้านม ซึ่งกิน flaxseed พบว่าภายใน 7 อาทิตย์ เนื้องอกได้ฝ่อลง

Flaxseeds

Flaxseeds

สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งของ flaxseed คือ อุดมไปด้วยกากใยอาหาร (fiber) ซึ่งช่วยขจัดสารพิษต่างๆ ที่อยู่ภายในลำไส้ และทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ซึ่งส่วนที่เป็นกากใยอาหารนี้ จะพบในเมล็ด flaxseed แต่ไม่พบใน flaxseed oil ชนิดแคปซูล

เกลือแร่พระพุทธเจ้า(Himalayan Salt) หรือเกลือสีชมพู

เกลือแร่พระพุทธเจ้า(Himalayan Salt) หรือเกลือสีชมพู

หิมาลัย

อาจ เรียกอีกชื่อว่าเกลือแขกหรือเกลือดำจากเทือกเขาหิมาลัยเกิดจากธรรมชาติเป็น เวลากว่า 250 ล้านปี มีแร่ธาตุต่าง ๆ 84 ชนิด หินเกลือสามารถปล่อยประจุลบ(Negative Ions)ซึ่งเรียกว่าวิตามินอากาศ เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ  ผลการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์พบว่าการใช้โคมไฟผลึกหินเกลือบริสุทธิ์  สามารถเพิ่มประจุลบ ในบรรยากาศได้มากถึง 300 %  “Dr.Albert P.Krueger”  นักจุลินทรีย์ และผู้เชี่ยวชาญวิชาอายุรเวชแห่งมหาวิทยาลัย California กล่าวว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์ที่จำนวนน้อยของประจุลบสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และทำลายออกจากอากาศได้อย่างรวดเร็ว เกลือมหัศจรรย์นี้ได้สะสมพลังงานไอออนเมื่อในอดีตจากทะเลยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งพลังงานธรรมชาติเหล่านี้จะถูกปลดปล่อยอีกครั้งเมื่อถูกนำมาใช้
เกลือสีชมพู

ประโยชน์ของเกลือหิมาลัย

(1) ใช้ปรุงอาหาร
จะ มีประโยชน์มากกว่าเกลือแกง  เนื่องจากมีธาตุอาหารที่ร่างกายต้องการถึง 84 ชนิด ช่วยดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์,  รักษาสมดุลน้ำในร่างกาย, รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ,ควบคุมสมดุลต่างๆภายในเซลล์ ทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรง

salt-minerals

(2) ใช้เพื่อสุขภาพและความงาม
ลด รอยช้ำรอบดวงตา : ผสมเกลือ 1 ช้อนชาในน้ำร้อนครึ่งถ้วย จากนั้นใช้ผ้าหรือสำลีชุบน้ำเกลือมาปิดตาไว้สัก 5-10 นาที รอยช้ำรอบดวงตาจะค่อยๆจางลง
ทำให้หน้ามันน้อยลง : ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อนพอหมาดมาปิดหน้าไว้สัก 3-5 นาที เพื่อช่วยเปิดรูขุมขนก่อน ต่อจากนั้นใส่น้ำลงในขวดสเปรย์ เติมเกลือลงไป 1 ช้อนชา เขย่า ให้เกลือละลายแล้วฉีดเกลือใส่หน้าให้ทั่ว แล้วใช้ผ้าขนหนูเช็ดหน้าให้แห้ง
เพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิว : ผสม เกลือ 1/2 ถ้วยลงในอ่างอาบน้ำ แช่ตัวประมาณ 15-20 นาที จากนั้นเช็ดตัวให้แห้งแล้วทาครีมบำรุงผิวซ้ำ เกลือจะช่วยให้ผิวชุ่มชื่นยิ่งขึ้น
ขัดผิวให้สวยใส : โดย ใช้เกลือผงถูตัวแล้วใช้ฟองน้ำหรือผ้าขนหนูขัดตัวให้ทั่วช่วยให้เซลล์ผิว หนังที่ตายแล้วหลุดออกมา ขณะเดียวกันก็กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในร่างกายด้วย
ผ่อนคลายอาการ เมื่อยล้าที่เท้า : ผสม เกลือประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะลงในน้ำอุ่น นั่งแช่เท้าประมาณ 30 นาที วิธีนี้เหมาะกับคนที่เดินนาน ๆ รวมทั้งสาว ๆ ที่ต้องใส่ส้นสูงตลอดวัน